สถิติ
เปิดเมื่อ5/07/2019
อัพเดท2/09/2019
ผู้เข้าชม1554
แสดงหน้า1741
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




ข้อมูลทั่วไปจังหวัดภูเก็ต

อ่าน 69 | ตอบ 0
ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต:
ภูเก็ตภูเก็ตเป็นเกาะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทางประมาณ 862 กิโลเมตร เป็นเกาะเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นจังหวัด และยังเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอีกด้วย คำว่า ภูเก็ต มาจาก 'ภูเก็จ' ซึ่งมีความหมายว่า ภูเขาแก้ว ถือเป็นจังหวัดที่มีอารยธรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าสนใจ 

ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็น ดินแดนแห่งไข่มุกอันดามัน เคยเป็นดินแดนที่รุ่งโรจน์และมีความมั่งคั่งจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ภูเก็ตมีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการขุดแร่ดีบุกที่ภูเก็ต มีประวัติความเป็นมากว่า 500 ปีมาแล้ว ปัจจุบันภูเก็ตถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย พร้อมทั้งยังมี โรงแรมที่พัก พร้อมสรรพในทุกระดับราคาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังจังหวัดภูเก็ต ตกเฉลี่ยปีละ 4- 5 ล้านคน 

มนต์เสน่ห์ของภูเก็ตอยู่ที่ ตัวเกาะที่มีลักษณะเว้าเป็นอ่าวไปทั่วเกาะ ซึ่งทำให้เกิดชายหาดที่สวยงามมากมาย อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านตึกเก่าที่มีสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน 

มีคำขวัญประจำจังหวัดคือ 'ไข่มุกอันดามัน สรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม' ภูเก็ตมีพื้นที่ประมาณ 1.75 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ และพื้นที่ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของเกาะ อีกทั้งในภูเก็ตมีคลองซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ได้แก่ คลองบางใหญ่, คลองท่าจีน, คลองท่าเรือ และคลองบางโรง Phuketเมื่อได้มีการเลิกทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งเป็นรายได้หลักของจังหวัดภูเก็ตในขณะนั้น นับตั้งแต่นั้นมา ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2523 ที่ผ่านมา รายได้หลักของจังหวัดภูเก็ตมาจากธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ในช่วงที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ปีละประมาณ 4 - 5 ล้านคน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ โรงแรมร้านอาหาร, บริษัทท่องเที่ยว และร้านขายของที่ระลึก การท่องเที่ยวไม่ได้เป็นแค่เพียงธุรกิจเดียวเท่านั้น รายได้รองลงมาได้จากการค้าส่งและค้าปลีกนอกจากนี้ยังมีคนจำนวนมากที่ยังคงทำการเกษตร และครอบคลุมไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะที่อยู่ไกลออกไป พืชพันธุ์หลักๆ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ และสับปะรด 

สำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ส่วนใหญ่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกและใต้ของจังหวัด ส่วนฟาร์มเลี้ยงหอยมุกก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ในส่วนท่าเรือประมงของภูเก็ต มีการทำประมงกันตลอดทั้งวัน และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำซึ่งใช้ปลาส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดเป็นโครงการสาธารณูปโภค อาคารสำนักงาน โรงแรม และโครงการบ้านจัดสรรกว่าร้อยคูหา รวมไปถึงบ้านเดี่ยว อพาร์ทเมนท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ  เมื่อเดิอนธันวาคม พ.ศ. 2541 จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในทะเบียนราษฎร์ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 231,206 คน อีกทั้งภูเก็ตเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม จึงทำให้มีแรงงานหลั่งไหลเข้ามายังจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนประชากรจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี 

ประชากรในจังหวัดภูเก็ตแต่เดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวยิปซีทะเล หรือ ชาวเล ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ ทำให้ภูเก็ตมีการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาติต่างๆ เข้าด้วยกัน จนเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ตมาจนถึงทุกวันนี้Palm Tree จังหวัดภูเก็ต ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ (อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และ อำเภอเมือง) 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครภูเก็ต) 2 เทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองป่าตอง และ เทศบาลเมืองกะทู้) 6 เทศบาลตำบล และ 9 องค์การบริหารส่วนตำบล 

ระบบการปกครองของประเทศไทย เมื่อรัฐบาลต้องอาศัยการบริหารจากส่วนกลาง ดังนั้นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน จะได้รับการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ สำหรับตำแหน่งนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ของเมืองภูเก็ตและป่าตอง มีการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของตนเอง ด้วยการเลือกตั้งสภาเมืองโดยสมาชิก ทำการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรี นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งภายใน จังหวัด อำเภอ และตำบล สำหรับตำรวจท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย จังหวัดภูเก็ต มีลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน โดยฤดูฝนจะเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ส่วนฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่ลมมรสุมพัดมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.4 องศาเซลเซียส จะสูงขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม อุณหภูมิต่ำสุดเกิดขึ้นในเดือนมกราคม อยู่ที่ 22 องศาเซลเซียส ช่วงอากาศดีที่สุด อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน จะไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส อุณหภูมิประมาณ 31 องศาเซลเซียส ภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในชื่อว่า เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น คือ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชื่อ ภูเก็ต เป็นคำที่เขียนสะกดผิดพลาดมาจากคำว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลว่าภูเขาแก้ว ส่วนคำว่า ถลาง มาจากคำ Junk Ceylon, Silan, สลาง และฉลาง ปัจจุบันถลางเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต 

Sea Gypsie Villageเดิม คำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง 

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางได้ไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า สำหรับในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ จนมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภริยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็น ท้าวศรีสุนทร และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งขึ้นเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิก ระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :