จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า 'เมืองกาฬสินธุ์” หรือ 'เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล 'กาฬ” แปลว่า 'ดำ” 'สินธุ์” แปลว่า 'น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า 'น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง
1. อาณาเขตติดต่อ
2. ประวัติ
3. หน่วยการปกครอง
3.1 การปกครองส่วนภูมิภาค
3.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น
4. สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
5. รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
6. การศึกษา
6.1 ระดับอุดมศึกษา
6.2 สถาบันอาชีวศึกษา
6.3 โรงเรียน
7. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร
8. อาหารพื้นเมือง
9. สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน
10. เทศกาลและงานประเพณี
11. อุทยาน
12. บุคคลที่มีชื่อเสียง
12.1 เจ้าเมืองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
12.2 เจ้าเมืองสมัยทวาราวดี-ขอมโบราณ
12.3 พระ
12.4 ปราชญ์ชาวบ้าน
12.5 นักร้อง - นักแสดง - นักเรียน,นักศึกษา
12.6 นักกีฬา
12.7 ข้าราชการประจำ
12.8 นักการเมือง
13. นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์
14. อ้างอิง
15. ดูเพิ่ม
16. แหล่งข้อมูลอื่น
อาณาเขตติดต่อ
จังหวัดกาฬสินธุ์มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ จรดจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ จรดจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จรดจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น
ประวัติ
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ.2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็น เมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น 'พระยาไชยสุนทร' เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป
เมื่อ พ.ศ.2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น 'จังหวัดกาฬสินธุ์' จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2490 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จนถึงปัจจุบัน